ในช่วงเวลาที่ผ่านใครหลายคนอาจได้ยินถึงข่าวหุ้นกู้ ผ่านแอพพลิเคชั่นเป๋าตังใช้เงินเริ่มต้นเพียง 1000 บาท แล้วจริงๆ แล้วหุ้นกู้คืออะไร?
หุ้นกู้ corperate Bond เป็นชื่อเรียกตราสารหนี้ ที่บริษัทเอกชนเป็นผู้ออก (ส่วนตราสารหนี้ที่รัฐบาลเป็นผู้ออกจะเรียกว่า พันธบัตร) ตราสารหนี้นั้น ผู้ออกมีสถานะเป็น ลูกหนี้ และ นักลงทุนมีสถานะเป็น เจ้าหนี้
ผลตอบแทน
ผลตอบแทนที่ได้รับ จะเรียกว่า Coupon หรือดอกเบี้ย โดยหากแบ่งประเภทตามการจ่ายดอกเบี้ยจะแบ่งออกเป็น 3 แบบ
1. Amortizing Bond
ทยอยจ่ายดอกเบี้ย เป็นงวดๆ โดยทั่วไปจะจ่ายปีละ 2 ครั้ง ตลอดอายุตราสารและคืนเงินต้นเมื่อหมดอายุ
2. Bullet Bond
จ่ายทั้งเงินต้น และ ดอกเบี้ย ครั้งเดียวเมื่อหมดอายุ เหมือนกับการยิงกระสุนครั้งเดียว
3. Zero Coupon Bond
การขายตราสารหนี้ในราคาที่ต่ำกว่า ราคาที่ตราไว้ และรับซื้อในราคาที่ตราไว้ ยกตัวอย่างเช่น
ตราสารหนี้ A ราคาที่ตราไว้อยู่ที่ 1000 บาท ขายในราคา 900 และเมื่อครบอายุจะซื้อในราคา 1000 บาทนั่นหมายความว่าคุณจะได้กำไรประมาณ 1000 – 900 = 100 บาท
ความเสี่ยงที่ต้องคำนึงเมื่อลงทุน
1. Interest Rate
เมื่ออัตราดอกเบี้ยนั้นสูงขึ้นจะส่งผลให้ราคาของหุ้นกู้ที่ถือลดลงเป็นเพราะว่า เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่ม อัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้ย่อมสูงขึ้นเพื่อจูงใจนักลงทุน ดังนั้นทำให้เหมือนว่า หุ้นกู้ตัวใหม่ที่ออกมาจะให้ผลตอบแทนที่มากกว่า จึงส่งผลให้ราคาหุ้นกู้เรามีลดลงได้
2. Credit Risk
ย้อนไปในช่วงประถมใครหลายคนคงเคยสัมผัสการเป็นเจ้าหนี้ครั้งแรก จากการให้เพื่อนยืมเงิน และคงมีอีกหลายคนที่เจอประสบการณ์ “ลูกหนี้เบี้ยว”
เหตุการณ์เหล่านั้นส่งผลให้การให้ใครยืมเงินอีกเรามักจะเช็คว่า คนเป็นคนอย่างไร น่าเชื่อถือไหม มีโอกาสที่เขาจะคืนหรือไม่ เช่นเดียวกันกับหุ้นกู้ที่เราถือเป็นเจ้าหนี้ ก็ต้องตรวจสอบว่าบริษัทลูกหนี้ของเรามมีความสามารถในการหาเงินมาจ่ายคืนหรือไม่ จะทำการชักดาบ ไม่มีไม่หนีไม่จ่าย หรือเปล่า
แต่ครั้นจะให้ไปอ่านงบการเงินของบริษัทก็ตาลายเหลือเกิน มีทางอื่นหรือไม่ คำตอบคือมี
ปัจจุบันนี้มีบริษัทที่ทำการประเมิณจัดลำดับความน่าเชื่อถือของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ ออกมาเป็น Credit Rating
ยกตัวอย่างการจัดลำดับของ Tris & Fitch บริษัทที่มีความน่าเชื่อถือมากสุดจะถูกจัดเป็น AAA ไล่ลำดับลงไปเรื่อย ๆ
สำหรับบริษัทที่ได้ Credit rating ตั้งแต่ BBB- ขึ้นไปจะเรียกว่า Investment Gradeและ บริษัทที่ได้ Credit rating ต่ำกว่า BBB- ลงไปจะเป็น Speculative bond
3. Liquidity Risk
ความเสี่ยงเรื่องสภาพคล่อง หากมีสภาพคล่องที่ต่ำทำให้ซื้อขายยาก และอาจจำเป็นจะต้องขายต่ำกว่าราคา
4. Reinvestment Risk
ความเสี่ยงเรื่องการลงทุนต่อเกิดขึ้นเมื่อได้รับดอกเบี้ยในแต่ละงวด และนำไปลงทุนต่อ ความเสี่ยงคือ เราจะสามารถหาการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนเหมือนกับ หุ้นกู้ได้หรือไม่
หุ้นกู้ถือเป็นอีกสินทรัพย์น่าลงทุนที่น่าสนใจ ให้ผลตอบแทนที่กำหนดไว้ชัดเจน แต่ทุกอย่างมีความเสี่ยง ต้องเตรียมพร้อมให้ดี สวัสดีค่ะ ^^